จากหนังสือ Building a DevOps Culture นั้น
เป็นหนังสือสั้น ๆ จำนวน 23 หน้าเท่านั้น
ว่าด้วยเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กรล้วน ๆ
มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ แต่ขอยกตัวอย่างหัวข้อเรื่องการเปลี่ยนแปลงมานิดหน่อย
ก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม
ควรรู้และเข้าใจก่อนว่า เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงคืออะไร ?
มีประโยชน์และมีคุณค่าอะไรบ้าง ?
ด้วยตัวชี้วัดมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้
- ลด Time-to-Market ของ feature ใหม่ ๆ
- เพิ่ม Availability ของ product
- ลดเวลาในการ deploy และ release product
- ลดจำนวน defect ในรอบการทดสอบก่อนขึ้น production
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ infrastructure
- ได้ feedback จากผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วว่าสิ่งที่ทำมันโดนใจผู้ใช้งานหรือไม่
โดยตัวชี้วัดและเป้าหมายต่าง ๆ
ควรต้องมีประโยชน์และคุณค่า
ต่อทาง business และ development ด้วยเสมอ เช่น
ลดเวลาการทำงานและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงไป
ลดรายได้ที่ต้องสูญเสียไปเมื่อ product เกิดปัญหาขึ้นมา
ลดเวลาในการจัดเตรียม infrastructure
จากนั้นเป้าหมายต่าง ๆ ควรต้องวัดผลได้เสมอ
เพื่อทำให้เก็นว่าสิ่งที่ทำลงไป มันช่วยปรับปรุงหรือดีขึ้นหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น
ลดเวลาในการ deploy ลงไปจาก 10 ชั่วโมงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง
เพิ่มจำนวน defect ที่เจอในการทดสอบก่อนขึ้น production จาก 25% เป็น 50%
สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ ที่มาที่ไปของตัวเลขต่าง ๆ
ต้องชัดเจน สมเหตุสมผล
เพื่อจะช่วยการการปรังปรุงมันดีขึ้นจริง ๆ
แต่ถ้าที่มาที่ไปของตัวเลขมันไร้เหตุผลมาก ๆ ก็จะเป็นภัยแบบสุด ๆ
ในหนังสือแนะนำ
ตั้งเป้าหมายแรก ๆ มาจาก pain point หรือความเจ็บปวดที่ได้รับมาจริง ๆ
ในหนังสือยกตัวอย่างคือ Our deployments suck
เริ่มด้วยตัวเลขตั้งต้นจากปัจจุบันเช่น
ในการ deploy ขึ้น production นั้น
ต้องใช้คนจำนวน 6 คน (ตำแหน่งอะไรบ้าง)
คำนวณออกมาเป็นค่าใช้จ่ายว่าเป็นกี่บาท ?
เมื่อได้ตัวเลขตั้งต้นแล้ว
ก็ถึงเวลาที่ลองปรับปรุงการทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ แล้วนะ
ลองอ่านเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมดูได้ไม่กี่หน้าเอง
เป็นอีกเล่นที่เอาไว้อ่านเล่น ๆ แก้เหงาได้ครับ
สามารถ Download หนังสือในรูปแบบ PDF ได้ด้วย