
จากการแนะนำเรื่องของ Continuous Integration และ Continuos Delivery นั้น มีการพูดคุยถึงคุณสมบัติที่ดีของระบบเหล่านี้ ว่าควรจะมีอะไรบ้าง เพื่อให้เราไม่หลงทางในการนำมาใช้งาน
นั่งอ่านบทความเกี่ยวกับแนวโน้มของ DevOps ในปี 2019 แล้วน่าสนดี ซึ่งในปี 2018 นั้น หลายองค์กรน่าจะประสบพบเจอหรือต้องเผชิญกับคำว่า DevOps หนักว่านั้นน่าจะมาพร้อมกับคำว่า Microservice, Continuous Delivery และ Container เป้าหมายเพื่อให้แต่ละส่วนงานที่ต้องทำงานร่วมกัน ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างดี ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืน หลับเต็มตื่น !!! ส่งผลดีต่อ business ขององค์กร แน่นอนว่า ต้องการการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากต่างฝ่ายต่างทำ ให้เป็นทำตามเป้าหมายเดียวกัน ต้องการเรื่องของ skill ต้องการเรื่องของ process ที่เร็วและดีมีคุณภาพ ต้องการเรื่องของเครื่องมือที่ช่วยให้คนและ process ดี ถ้าไม่เป็นตามนี้ปัญหายังคงอยู่แน่นอน มาดูกันว่าในปี 2019 เรื่องของ DevOps จะมีแนวโน้มอย่างไรบ้าง
เริ่มต้นจากสถาปัตยกรรมของระบบงาน (Application Architecture) สถาปัตยกรรมของ software นั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่แนวโน้มของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ล้วนพยายามแยกส่วนการทำงานออกเป็นชิ้นเล็ก (Decomposition) โดยแต่ละชิ้นต้องทำงานได้ด้วยตัวเอง (Service) ระบบงานใหญ่ ๆ เรามักจะเรียกว่า Monolithic ส่วนระบบงานที่เราทำการแบ่งเป็น Service เล็ก ๆ จะเรียกว่า Microservice
ช่วงวันหยุดหยิบหนังสือ Accelerate: The Science of Lean Software and DevOps มาอ่าน เป็นหนังสือที่สรุปส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ช่วยให้บริษัท IT ขับเคลื่อนได้อย่างดี (high-performance) ทั้งองค์กรและทีม โดยทำการสรุปข้อมูลมาจาก State of DevOps Report ตั้งแต่ปี 2014 จาก State of DevOps Report นั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า การนำแนวคิด DevOps นั้น ต้องนำแนวปฏิบัติ (Practice) อะไรมาใช้บ้าง ? วัฒนธรรมขององค์กรต้องเอื้อและสนับสนุนอย่างไร ? เพื่อปรับปรุงการพัฒนาและส่งมอบระบบงานให้เร็วและมีคุณภาพ (Correctness, Performance และ Security) ส่งผลให้ได้รับ feedback เพื่อปรับปรุง