อ่านเจอบทความเรื่อง Vicious cycle of technical debt
หรือแปลเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ว่า วงจรอุบาทว์ของหนี้เชิงเทคนิค
มันน่าสนใจดีนะ
วงจรที่มันจะวนไปเรื่อย ๆ โดยเริ่มจาก
- ระบบแย่ ๆ เขียน code แย่ ๆ
- ส่งผลทำให้เสียเวลา (ค่าใช้จ่าย) ในการดูแลที่สูง
- ทำให้ business โตหรือขยับขยายไปได้ยาก
- ส่งผลให้มีเงินหรือกำไรน้อยลง
- พอเงินทุนน้อยลง ก็ไม่มีเงินไปลงทุนกับการพัฒนาในอนาคตต่อไป
- มันก็จะวนไปกลับไปที่ เขียน code และสร้างระบบที่แย่ ๆ ต่อไป
ใครอยู่ในวังวนหรือวงจรอุบาทว์นี้บ้างนะ ?
เราจะออกไปจากวังวนนี้อย่างไรนะ ?
หนึ่งในแนวทางที่อ่านเจอมาคือ อะไรที่มันซ้ำ ๆ ก็ให้มันทำงานแบบอัตโนมัติซะ
ยกตัวอย่างเช่น
ชอบผิดซ้ำ ๆ ที่เดิมก็เขียนชุดการทดสอบซะ
ครั้งต่อไปไม่น่าจะผิดที่เดิม เพราะว่ามีชุดการทดสอบคอยช่วยแล้ว
ชอบ deploy ผิดบ่อย ๆ ก็ลองทำระบบ deploy ให้สั้น ๆ เร็ว ๆ สิ ขั้นตอนเยอะไปไหน
ชอบเขียน code ซ้ำ ๆ ก็ reuse ซะ
ชอบ review code ก็แยกส่วนที่ซ้ำออกมา แล้วใช้เครื่องมือช่วยซะ
เหลือไว้ที่ต้องใช้คนก็พอ
ผลที่ได้คือ จะลดข้อผิดพลาดและปัญหาลงไป
จะได้มีเวลามากขึ้น
จะได้มีเงินมากขึ้น
มีเวลาแก้ไขหรือชดใช้หนี้มากขึ้น
ส่งผลให้ business ดีขึ้น