Screen Shot 2558-12-20 at 12.32.33 AM
ในสัปดาห์นี้ได้เข้าร่วมแบ่งปัน 2 meetup ประกอบไปด้วย
งานจากกลุ่ม Thailand PHP User Group จัดที่ Kaidee.com
และงาน How The Geek Become Great Entrepreneur ? จัดโดย FiveLoop ที่ NE8T
จึงได้ทำการสรุปสิ่งที่ได้รับและแบ่งปันดังนี้

Meetup จากกลุ่ม Thailand PHP User Group

แบ่งปันเรื่อง Continuous Delivery(CD) with PHP
ซึ่งแบ่งปันความเข้าใจในเรื่อง
CD คืออะไร
CD เป็นอย่างไร
โดยไม่ได้พูดในเรื่องของเครื่องมือใด ๆ ทั้งสิ้น

สิ่งที่สำคัญคือ ต้องสร้างความสมดุลระหว่างความเร็วกับคุณภาพด้วย
เนื่องจากส่วนใหญ่มักเลือกความเร็วมาก่อนคุณภาพ
ผลที่ได้คืออะไรล่ะ ?
พังนะสิ !!

รวมทั้งสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ และ ความผิดพลาดต่าง ๆ
มีดังต่อไปนี้

  1. ต้องใช้ Version Control สำหรับจัดการทุกสิ่งอย่าง ไม่ใช่เพียง source code เท่านั้นนะ
  2. ต้องพร้อมสำหรับการ deploy และ release ไปยัง production server เสมอ
  3. ต้องทำการ deploy แบบอัตโนมัติ ( deploy ไม่เท่ากับ release นะครับ )
  4. เรื่องของ Feedback loop มันสำคัญมาก ๆ ยิ่งรับรู้ผลได้เร็วยิ่งดี ยิ่งได้รับรู้บ่อยยิ่งดี
  5. ควรต้องรู้การทำงานภายในของระบบอย่างดี คำถามง่าย ๆ เรารู้ว่าระบบมีปัญหาจากลูกค้าหรือไม่ ?
  6. เราไม่สามารถ automate โดยปราศจากเรื่องของคุณภาพไปได้ ดังนั้น คุณภาพต้องออกมาจากคน จากวัฒนธรรม ไม่ใช่จากการถูกบังคับ

ดู Slide เพิ่มเติมได้จากที่ SlideShare

ส่วนเรื่องที่ได้รับจาก meetup ครั้งนี้เยอะมาก ๆ
แต่เท่าที่จำได้ประกอบไปด้วย

เรื่องของ Automated Acceptance Test ด้วย Behat
ซึ่งมีรูปแบบการเขียนเหมือนกับ Cucumber
และรูปแบบของการเขียน specification หรือ ขั้นตอนการทำงาน คือ Given-When-Then หรือ Gherkin นั่นเอง
และต้องเขียน step definition หรือ FeatureContext เพื่อจับคู่การทำงาน
ผ่านการ comment แบบ Java Document

คำถามที่น่าสนใจ คือ
เมื่อเปรียบเทียบกับ Robot Framework แล้วเป็นอย่างไร ??

เรื่องโครงสร้างการทำงานผ่าน Messaging server ชื่อว่า Beanstalk
เป็นอีกตัวที่ไม่เคยรู้จักเลย
โดยใช้งานด้วยภาษา PHP ผ่าน library ชื่อว่า Pheanstalk
และเมื่อได้ดูการ demo การใช้งานมันก็น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีก
การทำ Messaging server มาคั่นการทำงานเพื่อ
ช่วยให้ระบบสามารถรองรับการขยายตัวผู้ใช้งานได้ดี

ปิดท้ายด้วยเรื่อง Docker จากทางทีมของ Kaidee.com
น่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับการนำ Docker มาใช้บน production
เนื่องจากก่อนหน้านั้น เคยใช้งานเพียงเครื่อง development เท่านั้น
ซึ่งแน่นอนว่า ได้รับความรู้ และ ความมึนงงพอ ๆ กัน
เนื่องจากจะลงรายละเอียด และ รูปแบบการนำไปใช้งานจริง ๆ
ซึ่งคงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก
และได้แนวทางในการศึกษาที่ดีมาก ๆ

Meetup จากงาน How The Geek Become Great Entrepreneur ?

มีโอกาสให้ไปแบ่งปันความคิดเห็นในหัวข้อวิกฤติของ programmer และ จะแก้ไขกันอย่างไรดี ?
โดยผมพยายามนำเสนอมุมมองจากภาคส่วนต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นจากมุมมองของ programmer ที่มองสายอาชีพตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นจากการพูดคุยใน Social Network
ไม่ว่าจะเป็นจากภาคการศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นจากองค์กร และ บริษัทต่างๆ
เพื่อให้เห็นว่า เรามักจะหาคนผิด !!
เพื่อให้เห็นว่า เรามักจะโทษกันไปมา !!

ดังนั้นให้ทุกภาคส่วนควรมาร่วมมือกันเพื่อหาทางออกที่ดีกว่าหรือไม่ ?
programmer คุณเลิกมองว่าตัวเองคือ กรรมกร IT ได้แล้ว และ ปรับปรุงให้ดีขึ้น
องค์กร และ บริษัท ทำอย่างไรเพื่อรักษาคนไว้ ไม่ใช่ทำร้ายคน
องค์กร และ บริษัท ถ้าอยากได้คนแบบไหน จากส่วนใด น่าจะลงเข้าไปช่วย หรือ บอก spec ดีกว่าไหม
ส่วนของการศึกษาน่าจะปรับปรุง และ เข้ามาดูโลกความจริงกันหน่อยไหม
แล้วคุณล่ะ คิดว่า มันวิกฤติจริง ๆ ไหม ?

ดู Slide เพิ่มเติมได้จากที่ SlideShare

และยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจอย่างมากจากอาจารย์ Dave Rawitat และ อาจารย์ Teepakorn
เช่นแนวคิดต่าง ๆ จากการเป็น mentor ของเหล่า Startup ต่าง ๆ
และประสบการณ์ที่ล้มลุกคลุกคลานจนมีวันนี้ได้
ซึ่งได้ความรู้ ข้อคิด และ ประสบการณ์อย่างมากมาย

มีผู้ร่วมงานทำการสรุปไว้ดีมาก ๆ ลองอ่านกันดูที่
สรุปข้อคิดจากงาน How the geek become great entrepreneur ?

Tags: