ช่วงวันหยุดหยิบหนังสือ Remote : Office not required มาอ่านอีกครั้ง
เป็นหนังสือที่เขียนออกมาตั้งแต่ปี 2013 แล้ว
อธิบายถึงการทำงานแบบ Remote หรือบางคนเรียกว่า Work from Home
ซึ่งผมก็มีโอกาสได้ลองทำงานแบบนี้ไป 3 projects
ก็เลยทำการสรุปการอ่านหนังสือเล่มนี้ไว้นิดหน่อย

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ
บริษัทและคนที่กำลังจะเริ่มหรือลองทำงานแบบ Remote ไปแล้ว
เป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่า
ทำอย่างไรจึงจะช่วยเพิ่ม productivity ให้สูงสุด
รวมทั้งยังคงความสุขในการทำงานทั้งผู้ว่างจ้างและลูกจ้าง

การทำงานแบบ Remote นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้า

1. เทคโนโลยีไม่พร้อม

ทั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ถูกและสะดวกเช่น
การ share screen และ file การทำ todo-list, task board ต่าง ๆ
การพูดคุยผ่าน messaging tool ต่าง ๆ

2. ผู้ว่าจ้างไม่พร้อม

แน่นอนว่าผู้ว่าจ้างต้องการลูกจ้างหรือพนักงานที่ดี เก่ง มีคุณภาพ
แต่เมื่อถูก interrupt จากการทำงานที่ office
ส่งผลให้ productivity ลดลง
หนึ่งในปัญหานั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำงานแบบ remote
ที่ช่วยเพิ่ม productivity แล้วยังลดค่าใช้จ่ายเรื่องของ office ลงไปได้อีกเยอะ
แต่การทำงานแบบ remote ก็สามารถเกิด interrupt ได้มากมายเช่นกัน

ที่สำคัญยังทำให้เห็นว่า
พนักงานคนไหนแย่ได้ง่ายอีกด้วย
ไม่ต้องมานั่งแอบดูเหมือนการทำงานใน office เลย


ทางผู้ว่าจ้างพร้อมหรือไม่  ?
สำหรับการทำงานแบบ remote แต่บางงานก็จำเป็นต้องทำงานที่ office นะ
ไม่ใช่ว่าทุกงานทุกประเภทจะเหมาะกับการทำงานแบบ remote

3. ผู้ถูกจ้างหรือพนักงานไม่พร้อม

การวัดผลก็ตรง ๆ เลยคือ ผลงานที่ออกมาเท่านั้น
เนื่องจากการทำงานแบบ remote ให้อิสระในการทำงาน
ทำงานที่ไหน เมื่อไรก็ได้ ไม่มีใครสนใจว่า จะทำงานตลอดเวลาหรือไม่
สนใจเพียงทำงานเสร็จตามที่คุยหรือตกลงไว้หรือไม่

ถ้ามีเรื่องเร่งด่วนก็สามารถติดต่อได้ในช่วงเวลาการทำงานปกติ
ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปทำงานที่ office
ซึ่งเสียทั้งเวลารถติด
ซึ่งเสียทั้งเงินค่าน้ำมัน ค่ารถ และอื่น ๆ อีกมากมาย

แต่มันก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบหรือวินัยที่สูงขึ้น
เพราะว่า ถ้าไม่มีวินัยแล้ว มักจะพบว่า
การทำงานแบบ remote นี่เลวร้ายกว่ามาทำงานที่ office มาก ๆ
ถ้าคนทำงานยังไม่พร้อม ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำได้เลย

จากที่บอกว่าการทำงานไม่ได้มีเพียงด้านดี แต่ด้านแย่ ๆ ก็มาก

ทั้งเรื่องของการพูดคุยแบบ face-to-face
บางคนบอกว่า เรามี VDO conference นะ
แต่มันก็ไม่เหมือนกันพูดคุยแบบซึ่ง ๆ หน้ากันอยู่ดี
บางครั้งทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่งขึ้นอยู่บ่อย ๆ
รวมทั้งการทำงานอยู่ที่บ้าน 
อาจจะทำให้มี interrupt จากครอบครัวเยอะกว่าปกติก็เป็นไปได้

ผู้ว่าจ้างที่ยังไม่พร้อม
อาจจะกลัวว่ากาทำงานแบบ remote จะส่งผลให้
คนทำงานคุยกันน้อยลง
ติดต่อสื่อสารกันช้าลง
มีปัญหาด้านความปลอดภัย
มีปัญหาเรื่อง culture ของบริษัท
ซึ่งถ้ามองในอีกมุมจะเห็นว่า
ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เราเข้าใจคนทำงานมากขึ้น
นั่นคือ เราควรจ้างคนที่เราเชื่อมั่นและไว้ใจเข้ามาทำงานแทนที่ดีกว่า

แต่ก็มีอีกหลายเหตุผลที่
ผู้ว่าจ้างจะยกขึ้นมา เพื่อบอกว่า เราไม่พร้อมจะทำงานแบบ remote
ซึ่งเหตุผลเหล่านั้น มันสมเหตุสมผลเสียด้วย
ทั้งมันไม่เหมาะกับ business ของเรา
ทั้งทำให้ไม่สามารถ management ควบคุมได้เลย
ทั้งเรื่องของ productivity ที่ตกลงอย่างแน่นอน

แล้วเราจะปรับปรุงกันอย่างไรดีละ ?

ในหนังสือมีคำแนะนำสำหรับการทำงานร่วมกันแบบ Remote ประกอบไปด้วย

  • ถ้ามีการทำงานต่าง timezone กัน ต้องทำให้มั่นใจว่าต้องมีเวลาประมาณ 4 โมงที่ซ้อนทับกัน
  • ในการติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกัน ต้องใช้ vdo conference และ share screen ร่วมกันเสมอ
  • ข้อมูลการทำงานต่าง ๆ ต้อง share กันให้หมดทั้ง schedule, todo-list และ file ต่าง ๆ
  • มีการสร้างห้องพูดคุยกันทั้งงานและเรื่องทั่วไปขึ้นมา
  • ต้องมีการแบ่งปันหรือแจ้ง progress ของการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ไม่หมกเม็ด
  • ในการเริ่มต้นทำงานแบบ remote นั้นให้เริ่มเป็นทีม อย่าเริ่มเพียงไม่กี่คน
  • บางครั้งการทำงานสามารถรวมกันได้ทั้ง remote และ office ในทีมเดียวกัน

ต่อไปเรื่องการทำงานแบบ Remote จะสัมพันธ์กับการว่าจ้างอีกด้วย

การทำงานแบบ remote นั้น
จะช่วยให้สามารถหาคนทำงานที่เก่งและเหมาะสมได้ดีกว่ามาก
ทั้งคนในต่างจังหวัด หรือคนจากประเทศอื่น ๆ
โดยที่คนเหล่านี้ยังได้รับผลตอบแทนเหมือนการทำงาน office ปกติ
นั่นคือการแสดงให้เห็นว่า
ทุกคนที่ทำงานมีคุณค่าเช่นเดียวกัน
ส่งผลต่อจิตใจการคนทำงานอย่างมาก
ถ้าคนทำงานมีสภาพจิตใจที่ดี ผลงานที่ออกมาก็จะดีมากอีกด้วย

สุดท้ายการทำงานแบบ Remote นั้น

ถ้ามองถึงคนทำงานแล้วนั้น
ยิ่งต้องมีวินัยและความรับผิดชอบที่สูงมากเช่นกัน
เพราะว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะควบคุมตัวเองและสิ่งแวดล้อม

บางคนอาจจะบอกว่า
แม้มาทำงานที่ office มีการตามงานมากมาย ยังไม่เสร็จเลย !!
แล้วจะไปทำงานแบบ remote จะรอดได้อย่างไร ?

สำหรับบริษัทที่จะเริ่มทำงานแบบ Remote นั้น
ถ้าเป็นบริษัทใหม่ ๆ ให้เริ่มตั้งแต่ต้นไปเลย
แต่ถ้าทำแบบปกติไปแล้ว อยากจะลองแบบ remote
ก็เริ่มให้การทำงานแบบ remote เป็น option ของการทำงานไป

จากนั้นทางฝ่าย mamanement ก็ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานและวิธีคิดด้วย
ทั้งการให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานที่ทำได้ง่าย
ทั้งการให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจบางอย่าง ไม่ต้องมารอ
ทั้งการไม่ต้องมานั่งตรวจเวลาเข้างาน
ทางฝ่าย management ต้องเริ่มก่อนเสมอ และคอยช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา

ที่สำคัญ การพูดคุยแบบ face-to-face และ one-to-one เกี่ยวกับการทำงาน
จะขาดไม่ได้เลย เช่นในทุก ๆ 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
เพื่อทำให้เข้าใจความรู้สึกหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนที่บานปลายต่อไป

การทำงานแบบ Remote ไม่ได้เหมาะกับทุก ๆ business
แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
มันเอื้อให้ business ต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น
แต่คนเราที่ต้องไปทำงานรูปแบบนี้ พร้อมหรือไม่เท่านั้นเอง

ลองไปอ่านในหนังสือเพิ่มเติมครับ
มีเนื้อหาที่น่าสนใจเยอะมาก ๆ สำหรับการทำงานแบบ remote

Tags: