ในปัจจุบันจำนวนของ Mobile application ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในฐานนะนักพัฒนาก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ความสามารถด้านการพัฒนา Mobile application จึงเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย
รวมทั้งการทดสอบระบบงานก็เช่นกัน
โดยเฉพาะการทดสอบนั้นมักจะมีความเข้าใจผิดต่างๆ ดังนี้
ความเข้าใจผิดที่ 1 :: คิดว่าทดสอบบน Emulator อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
ในระหว่างการพัฒนา นักพัฒนามักจะใช้ Emulator สำหรับการพัฒนาและทดสอบในเบื้องต้น
แต่มันไม่ค่อยได้ช่วยอะไรมาก เมื่อต้องทำระบบนั้นไปทำงานจริงสักเท่าไร
เนื่องจาก Emulator ไม่ได้มี hardware อะไรเลยที่เหมือนเครื่องจริง
ทำให้นักพัฒนาไม่เห็นภาพว่า ประสิทธิภาพการทำงานของระบบในแต่ละอุปกรณ์และ hardware เป็นอย่างไร
กลับมามองในโลกความเป็นจริง มีผู้ใช้งานคนใดใช้งาน Mobile application บน Emulator กันบ้าง ?
ความเข้าใจผิดที่ 2 :: ทดสอบระบบบนเครื่องที่มีคนใช้สูงสุดสัก 10-20 รุ่น
ตัวอย่างข้อมูลจาก Play Store ของ Android พบว่าจำนวนเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานมีเยอะมากมาย
ทั้งขนาดหน้าจอ chipset memory
ดังนั้น การทดสอบเพียงไม่กี่เครื่อง นั้นไม่เพียงพออย่างแน่นอน
ยิ่งทาง Android มี OS หลายเวอร์ชันอีกด้วย การใช้งานก็แตกต่างกันไปอีก
ทำให้การพัฒนา และ การทดสอบ ลำบากขึ้นไปอีก
ดังนั้น พยายามทดสอบให้มากที่สุด ที่สามารถครอบคลุมในตลาดส่วนใหญ่
เพื่อช่วยลดความผิดพลาดต่างๆ ลงมาให้เหลือน้อยที่สุด
ความเข้าใจผิดที่ 3 :: เรื่องความปลอดภัยมักจะอยู่ลำดับท้ายๆ (Mobile Security)
ข้อมูลที่น่าตกใจจาก Gartner บอกว่ามากกว่า 75% ของ Mobile application นั้นสอบตกเรื่องความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
ดังนั้น เรื่องความปลอดภัย นักพัฒนาไม่ควรมองข้ามไปอย่างเด็ดขาด
เรื่องความปลอดภัย มันคือ feature ของระบบนะครับ
ความเข้าใจผิดที่ 4 :: การทดสอบมักจะมาหลังจากที่พัฒนาระบบงานแล้ว
รูปแบบการพัฒนาแบบเดิม หรือ ในปัจจุบัน มักจะพัฒนาระบบงานให้เสร็จก่อน แล้วทำการทดสอบทีหลัง !!
รูปแบบดังกล่าว มันจะใช้เวลาการทำงานที่สูงมากๆ
- ไหนจะพัฒนา
- ไหนจะส่งให้ทดสอบ
- ไหนจะรอการทดสอบ
- ไหนจะแก้ไข bug
- ไหนจะทดสอบ
- และอื่นๆ อีกมากมาย
ทำให้การ relaese ระบบงานไปให้ผู้ใช้งานนั้นช้า และ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
มันส่งผลให้คุณสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งอีก
ดังนั้น การพัฒนา และ ทดสอบ จะต้องกลายไปหนึ่งเดียวกัน หรือ ทำไปด้วยกัน พร้อมๆ กันเสมอ
จะทำให้รู้ว่าระบบต้องทดสอบอะไร ทำงานถูกต้องหรือไม่ และแก้ไขกันอย่างรวดเร็ว
ความเข้าใจผิดที่ 5 :: ระบบงานของเราใช้งานภายในเท่านั้น ไม่ต้องทดสอบให้ดีหรอกนะ
ในการพัฒนา Mobile application นั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ภายในองค์กร หรือ ให้ผู้ใช้งานจากทั่วโลก ก็ตาม
เรื่องคุณภาพในการทดสอบไม่สามารถลดลงไปได้เลย
คุณคงไม่อยากที่ต้องมานั่งแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบทุกวันเป็นแน่
ดังนั้น เรื่อง คุณภาพไม่สามารถต่อรองได้เด็ดขาด
โดยรวมแล้ว
ความเข้าใจผิดดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิด
แต่เป็นเรื่องที่มักจะพบเจอได้บ่อยพอสมควร เมื่อได้เข้าไปแก้ไข หรือ ดูการพัฒนา Mobile application
ดังนั้น ให้จำไว้ว่า ในการพัฒนา Mobile application นั้นจะต้อง
- การพัฒนาต้องเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้
- เรื่องของคุณภาพจะขาดไปไม่ได้เลย
- ไม่เช่นนั้น ปัญหา หรือ ข้อผิดพลาดต่างๆ มันจะเกิดกับผู้ใช้งานระบบ
แล้วปัญหาเหล่านั้น มันจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจคุณนั่นเอง ไม่ใช่ใครเลย