my-jenkins
ตอนนี้ Jenkins 2.0 Preview ถูกปล่อยออกมาเพื่อให้ทดสอบใช้งานกันแล้ว
โดยใน version ใหม่นี้ทำการปรับปรุงความสามารถหลายอย่าง
ทั้งเรื่องของ

  • Delivery pipeline ซึ่งจัดการด้วย code กันเลย
  • การติดตั้งแบบใหม่ มีให้เลือก plugin ก่อนด้วย
  • ทำการปรับปรุง User Interface และ Usability ต่าง ๆ อีกด้วย
  • ยังทำงานกับ version เก่า ๆ ได้

ดังนั้นมาดูรายละเอียดในแต่ละข้อกันดีกว่า

ว่าด้วยเรื่องของ Delivery pipeline

เป็นปัญหาหลัก ๆ ของ Jenkins สำหรับจัดการเรื่อง
Continuous Integration ไปจนถึง Continuous Delivery/Deployment
เนื่องจากจัดการได้ยาก แถมยังต้องติดตั้ง plugin อื่น ๆ อีก

ดังนั้นจึงต้องการรูปแบบการจัดการที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งยังสามารถ visualize delivery pipeline ได้อีก

โดยใน Jenkins 2.0 จึงทำการเพิ่ม Delivery pipeline เข้ามา
สำหรับการสร้าง Job/Item กันไปเลย
เรียกว่า Pipeline plugin ซึ่งจะเขียนด้วย DSL (Domain Specific Language)
รวมทั้งเขียนด้วยภาษา Groovy ได้ด้วย

ทำให้เราสามารถออกแบบ และ สร้าง pipeline การส่งมอบระบบด้วย code กันไปเลย
มันง่ายหรือเปล่าต้องลองดูกันเอง

ตัวอย่างของ Android project

มี Pipeline Stage View ให้ใช้งานกันอีก
มันคือ visualize ของการทำงานนั่นเอง

pipeline-stage-view.thumb

ยังไม่พอนะ สำหรับแฟน ๆ ของ Git และ Github ได้สบายกันล่ะ

เนื่องจากจะเป็น plugin ที่ build in มาให้กันไปเลย
ทำให้จัดการได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก

มาดูในส่วนของการปรับปรุง Usability กันบ้าง

เนื่องจากมีเสียงบ่นอย่างมากสำหรับคนใช้งาน Jenkins
นั่นก็คือ มัน plugin ให้ใช้งานจำนวนมาก
คำถามคือ แล้วเราต้องใช้ plugin อะไรบ้างล่ะ ?

ดังนั้นใน version นี้จึงเพิ่มหน้าจอ สำหรับการแนะนำ plugin สำหรับการเริ่มต้น
ให้ผู้ใช้งานเลือกติดตั้งตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน
แสดงดังรูป

j02

อีกทั้งยังทำการปรับปรุง User Interface ในหน้าต่าง ๆ อีก
ตัวอย่างเช่นหน้า Configuration ของแต่ละ Item/Job
แสดงดังรูป

j06

มาลองติดตั้งและใช้งาน Jenkins 2.0 Preview กันดีกว่า

ให้ทำการ Download จากที่นี่
หรือไปที่ Jenkins 2.0 preview
จากนั้นก็เลือก package ตาม OS ที่ต้องการกันไปเลย

ทำการ start Jenkins server ซึ่งผมใช้ war file ก็ทำดังนี้

$java -jar jenkins.war

เข้าใช้งานที่ http://localhost:8080 ก็จะเจอหน้านี้
ครั้งแรกน่าจะงงกันหน่อย เพราะว่า จะเอา security code มาจากไหนกัน ?
แต่ไม่ต้องตกใจไปเอามาจาก log file หรือ console ของ Jenkins นั่นเอง

j01

จากนั้นเข้าสู่หน้าแนะนำ plugin และ ติดตั้งกัน
แนะนำให้เลือก Install suggested plugins
แล้วจะมี feature ให้ใช้เยอะมาก ๆ

ทำการติดตั้ง plugin

j03

ต่อมาให้ทำการสร้าง username ที่เป็น Admin เพื่อจัดการระบบ
ถือว่าเป็นการปรับปรุงเรื่อง security ของ Jenkins กันเลยทีเดียว

j07

เข้าสู่หน้าหลักของ Jenkins
พบว่ายังคงหน้าตาเหมือนกับ version ก่อนหน้า

j09

จากการทดลองใช้งาน Jenkins 2.0 preview มา
ก็หน้าตาดูดีขึ้นมา จัดการ plugin ได้ดี
ส่วนเรื่องอื่น ๆ ต้องลองใช้งานกันต่อไป
ส่วนแผนการพัฒนา feature ต่าง ๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่