Screen Shot 2558-11-10 at 7.24.17 PM
ในบทที่ 12 เรื่อง Go Faster! จากหนังสือ UX for Lean Startups
ซึ่งได้แนะนำว่า ถ้าต้องการทีมที่เร็ว และ ตอบรับการการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้งานได้ดี
จะต้องเป็นทีมแบบ Cross-functional team
ดังนั้น
มาดูกันหน่อยว่า Cross-functional team หมายความว่าอย่างไร ?
และทำงานกันอย่างไร ?

ในหนังสือได้อธิบายว่า

ถ้าต้องการความคล่องตัวในการพัฒนา product
แนะนำให้เลิกการทำงานแบบ Waterfall ไปซะ
หรือขั้นตอนการทำงานที่เยอะแยะ ซับซ้อน
หรือใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะรู้ปัญหา
หรือใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะรู้ว่า product ที่พัฒนาออกมานั้น
มันเป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ ?

หนึ่งประโยคในหนังสือ เขียนไว้ว่า

Lean UX is not working in a waterfall style,
where each group works independently of the others.

เนื่องจากการพัฒนาแบบเดิม หรือ traditional นั้น
ทาง product manager จะเป็นคนคิด
เป็นคนเขียน specification ต่าง ๆ ของ product ที่ต้องการออกมา
จากนั้นจึงส่งไปให้ทีมออกแบบ
สุดท้ายได้ technical specification ออกมา
เพื่อให้ทีมพัฒนาลงมือสร้าง
ซึ่งแน่นอนว่า ขั้นตอนการทำงานแบบนี้มันช้ามาก !!

ดังนั้นเราน่าจะมีรูปแบบการทำงานใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Cross-functional team

มันเป็นการปรับเปลี่ยนที่ไม่ง่ายเลย
สำหรับคนที่ทำงานแบบส่วนใครส่วนมัน
สำหรับคนที่ทำงานแยกตามฝ่ายต่าง ๆ
นั่นคือ การทำงานที่เรียกว่า Silo
ซึ่งการทำงานแบบนี้ มันส่งผลที่ไม่ดีนัก !!

ดังนั้น Cross-functional team นั้น
จะนำคนที่เกี่ยวข้องกับ product นั้น ๆ
มาทำงานร่วมกัน อยู่ในทีมเดียวกัน เรียกว่า Product team

เมื่อนำคนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา product มารวมกัน

เช่น

  • Product manager
  • Product owner
  • Designer
  • SA
  • BA
  • QA
  • Customer service
  • Sales
  • Engineer

ทุกคนทำงานช่วยกันตั้งแต่เริ่มคิด สร้าง product
ส่งผลให้การทำงานต่าง ๆ รวดเร็วขึ้น
ไม่ว่าจะในทางที่ดี หรือ ทางที่ร้ายก็ตาม
ทีมพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเสมอตามตัวชี้วัดต่าง ๆ
แถมลดปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสารอีกด้วย

ในการทำงาน แทนที่ feature ต่าง ๆ ใน product
จะถูกคิดมาจากกลุ่มคนเดียว
และมโนขึ้นมา ว่าฉันอยากได้นั่น อยากได้นี่

ก็เปลี่ยนมาเป็นการคิด feature ตามปัญหา
หรือว่ามีการกำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ
ว่าทำอะไร ?
ว่าทำไปให้ใคร ?
ว่าทำไปทำไม ?
แล้วมีตัวชี้วัดอย่างไร ?
เพื่อทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่กำลังจะสร้างมานั้นแก้ไขปัญหาอะไร ?
และจะทำการปรับปรุงอย่างไร ?
คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ (Return of Investment) ?

เมื่อเข้าใจถึงปัญหาต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

เมื่อเข้าใจลูกค้าแล้ว
เมื่อเข้าใจแล้วว่าสิ่งที่กำลังจะสร้างมีคุณค่าอย่างไร

ก็ได้เวลาตัดสินใน เพื่อเลือกว่าจะทำการพัฒนา feature อะไรก่อน
เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองแรง เปลืองเวลา เปลืองค่าใช้จ่าย
ในการสร้างทั้งหมดขึ้นมาเพียงครั้งเดียว
และถือว่าเป็นการทดลอง feature ของ product อีกด้วย
ว่ามันได้ผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดมาหรือไม่ ?
เพื่อที่จะได้แก้ไข และ ปรับปรุงต่อไป

จากนั้น แต่ละคน ก็ลงมือทำงานตามแต่ละหน้าที่ไปพร้อม ๆ กัน
เช่น
ทีม Designer ก็ทำการออกแบบ และ สร้าง prototype ขึ้นมา
ทีม Engineer ก็เริ่มต้นสร้าง product ขึ้นมา

จะเห็นได้ว่า Cross functional team นั้น

หัวใจคือ การทำงานร่วมกัน (Whole team approach) นั่นเอง
ทุกคนจะช่วยกันทำงาน
ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการคิด ออกแบบ สร้าง ดูแล และ monitoring ระบบ
ทุกคนช่วยกันดูว่า สิ่งที่สร้างมันตรงตามตัวชี้วัดหรือไม่
ถ้าไม่ ก็ช่วยกันเรียนรู้  คิด และ แก้ไขปัญหาว่าจะทำอย่างไร
เป็นการทำงานแบบ iteration และ incremental

สังเกตไหมว่า การทำงานของทีมต้องมีตัวชี้วัดเสมอนะ
ไม่ใช่ทำงานแบบเลื่อนลอย หรือผ่านไปวัน ๆ

โดยการทำงานแบบนี้
ทำให้เราได้รับ feedback จากลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

ดังนั้นสมาชิกในทีม

ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ต้องเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยกัน
ต้องเรียนรู้ที่จะทำงานเป็นทีม
ต้องเรียนรู้ในการออกแบบเพื่อให้คนในทีมเข้าใจร่วมกัน
นั่นหมายถึง สิ่งที่ออกแบบ และ สร้างต้องเรียบง่าย

Working as a TEAM
Working as a Cross Functional Team