สำหรับ Android developer ตัวจริงน่าจะใช้ Android Studio 3.4 หรือ 3.5 กันไปแล้ว แต่สำหรับคนไม่ชอบการ update แล้ว project fail ทุกครั้ง
ก็คงต้องชอบกับ Android Studio 3.3 ตัวเต็ม ๆ
ซึ่งไส้ในคือ IntelliJ IDE  2018.2.2 รวมไปถึงสนับสนุน Kotlin 1.3.11
ซึ่งมีความสามารถที่น่าสนใจพอควร มาดูใน feature ที่ผมใช้บ่อย ๆ

อย่างแรกถ้าใครสังเกตคือ

ในการเริ่มต้นใช้งานใหม่ ๆ นอกจากจะ import setting ต่าง ๆ จาก version เก่าได้แล้ว ยังมีเรื่องของการลบ directory ของ version เก่า ๆ ด้วยนะ (Delete unused directories)

อันนี้ถือว่าดีเลย เพราะว่าปกติต้องมาเสียเวลาตามไปลบ
เพราะว่า directory เหล่านี้ใช้เนื้อที่บน harddisk เยอะพอควร

เรื่องที่ 2 คือ หน้า wizard ในการสร้าง project

ให้เลือกได้ทั้งภาษา Java หรือ Kotlin
ให้เลือก Minimum API
ให้เลือก Instant app
ให้เลือกว่าจะสนับสนุน Android X เลยไหม

เรื่องที่ 3 การ build ของ gradle ทำได้ดีขึ้น

ทำให้การ build แบบ incremental ดีขึ้น
ถ้าทำการ config ด้วย annotation processor
รวมไปถึงเรื่องของ lazy task configuration นั่นหมายความว่า
ถ้าใน project ของเรามี build variant ทั้ง debug และ release
ดังนั้นถ้าเรากำลังทำการ build ใน debug แล้ว ตัว grade
จะไม่ทำการ initial task ที่เกี่ยวกับ release เพื่อลดเวลาลงไป
นั่นคือฉลาดขึ้นนั่นเอง อะไรที่ไม่ใช้ก็ไม่ต้องไปทำ

อีกอย่างคือ สามารถเลือก sync เฉพาะ build varient
ที่ใช้งานหรือ active อยู่ได้อีกด้วย
แน่นอนว่า feature นี้ยังอยู่ในขั้นของการทดสอบ experiment
ลองไปเปิดใช้งานดูได้  แน่นอนว่าการ sync เร็วขึ้นแน่นอน

เรื่องที่ 4 การทดสอบ

ใน Android Studio ยังคงปรับปรุงการทำงานของ Emulator ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นั่นจะทำให้เราสามารถทดสอบ app ได้เร็ว สะดวกขึ้นอย่างมาก
ทั้งการเปิด Emulator ตัวเดียวกันขึ้นมาในหลาย instance ได้
นั่นคือ AVD เดียวสามารถเปิดได้หลายตัวนั่นเอง
ซึ่งปกติทำได้แค่ 1 ต่อ 1

ส่งผลให้ในระบบการทำงานบน Continuous Integration ทำได้เร็วขึ้น
เพราะว่า สามารถทดสอบแบบขนานได้เลย
แต่เครื่องที่ run ก็ต้องมี resource เยอะ ๆ ด้วยละ เพราะว่ากินเยอะเหลือเกิน !!

ในส่วนของ Image ของ Emulator ตัวใหม่คือ Android 9 Pie นั้น
สนับสนุนการเชื่อมต่อ Peer-to-Peer WIFI ด้วย นั่นคือ Emulator
แต่ละตัวสามารถเชื่อมต่อกันได้อีกด้วย

อีกเรื่องของ Emulator คือการบันทึก snapshot ของ Emulator ได้ ทำให้เราเปิด Emulator ได้รวดเร็วขึ้นอย่างมากมายก่ายกอง

เรื่องที่ 5 ปรับปรุงประสิทธิภาพพวก profiling tool

เป็นของที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ Android development ที่สำคัญ
นักพัฒนาก็ต้องใช้งานให้เป็นด้วย
เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของ app ว่าเป็นอย่างไร
จะได้ปรับปรุงและแก้ไขให้ดีขึ้น

โดยใน version นี้ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นไปอีก
ทั้ง memory allocation, CPU และ networking

สุดท้ายสำหรับ Android Developerท ที่ต้องการลองใช้ของใหม่ ๆ ก่อนใคร

ก็ต้องไปที่ Android Studio Preview กันเลย ในตอนนี้มี

  • 3.4 beta 2
  • 3.5 canary 2

Reference Websites
https://android-developers.googleblog.com/2019/01/android-studio-33.html