ได้ยินคนพูดถึงเรื่องนี้กันมากๆ ว่า ทำไปแล้ว productivity มันดีขึ้นไหม
เราจะทำอย่างไรให้ productivity มันดีและสูงขึ้นกว่าเดิมนะ
พอมานั่งคิด ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า จริงๆ แล้วไอ้คำว่า productivity มันคืออะไรนะ

เริ่มต้นด้วยการค้นหาข้อมูลจาก Google ก็ได้ว่า

Productivity is a measure of the efficiency of production.
It can be expressed as the ratio of output to inputs used in the production process.

แปลเป็นไทยได้ว่า

  • measure คือ การวัด หรือ ตัวชี้วัด
  • efficiency คือ ประสิทธิภาพ
  • production คือ งานที่เราทำ

สามารถแสดงออกมาอยู่ในรูปแบบอัตราส่วนระหว่าง output ที่ออกมา และ input ที่ใช้ในการขั้นการทำงาน

จากความหมายแบบนี้ ทำให้เราเอาไปใช้วัดเรื่อง Quantity ( ปริมาณ ) มากกว่า Quality ( คุณภาพ )
ผลที่ตามมาก็คือ งานออกมาเยอะ แต่ไร้ซึ่งคุณภาพ !!!
ส่งผลให้เกิดคำถามว่าแล้ว productivity ที่ได้ออกมานั้น จริงๆ แล้วมันดีไหม ??
น่าคิดมากๆ

มาดูอีกความหมายของ Productiviy กันบ้าง

จาก The Next Web เรื่อง Productivity
บอกว่า productivity ไม่ใช่ทั้งการวัดจาก ปริมาณ และ คุณภาพ เท่านั้น

  • สิ่งที่นำมาทำจะต้องมีความสำคัญอีกด้วย
  • สิ่งที่นำมาทำจะต้องมีคุณค่าเมื่อทำเสร็จ และ ปล่อยออกไป
  • สิ่งที่ทำออกไปจะต้องมีคุณภาพสูงอยู่เสมอ แต่ไม่ใช่พวก perfect นะ

โดยบทความนี้แนะนำได้ดีมาก จึงเอามาเขียนสรุปดังนี้

รูปแบบการกระทำเพื่อให้ Productivity ดีๆ

ประกอบไปด้วย 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. ไม่มีรูปแบบหรือ โครงสร้างอะไรเลย
ทำไปเรื่อยๆ ที่ละงาน อาจจะกลับมาทำงานเดิมๆ อีกก็ได้
ให้การทำงานมันไหลไปเรื่อยๆ

2. มีรูปแบบที่ตายตัว
มีกฏ โครงสร้าง การทำงานที่ชัดเจน ถ้าใครลองทำตามจะรู้ว่าทำยากพอสมควร
แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้นะ สุดท้ายอาจจะได้ทางของตัวเอง
เช่น Pomodoro technique  คร่าวๆ คือการกำหนดเวลาทำงานในช่วงสั้นๆ 25 นาที แล้วพักสั้น 5 นาที สลับไปเรื่อยๆ

บางคนอาจจะบอกว่า ในชีวิตจริง หลายๆ อย่างอาจจะทำแบบนี้ไม่ได้หรอกนะ
เพราะว่า เวลาที่ให้มามันมีน้อยเหลือเกิน
หรือบางคนอาจจะบอกว่า มันอาจจะดีในช่วงแรก
แต่มันจะยั่งยืนหรือไม่ ตรงนี้คุณต้องลองด้วยตัวเองถึงจะรู้

จากทั้งสองกลุ่ม จึงทำให้เกิดแนวคิดว่า ต้องหาทางสายกลางมาแล้ว

โดยกลุ่มที่เกิดมาใหม่นั่นคือ Optimal Zone ซึ่งสามารถมีโครงสร้างการทำงานบ้าง
และมีกฏขั้นมาเล็กน้อย

Screen Shot 2557-08-08 at 6.57.30 PM

ในกลุ่มนี้มีรูปแบบการทำงานแต่ต่างออกไปเล็กน้อยดังนี้

1. จะต้อง Focus กับงานให้มากที่สุด

เริ่มจากการเลิกทำงานแบบ Multitasking เพราะว่ามันมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
อ่านเพิ่มเติมได้จาก The High Cost of Multitasking

ดังนั้น ต้องบังคับตัวเอง ให้ทำงานเพียงหนึ่งงานในช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น
เช่น

  • การปิด tab ต่างๆ ใน Browser
  • การปิด Email
  • การปิดโปรแกรม Chat ต่างๆ
  • การปิดมือถือ หรือ เปลี่ยนไปใช้ mode เงียบ หรือเอาออกจากตัวไปเลย
  • การทำลักษณะนี้ คือการกำจัดสิ่งที่จะมาขัดจังหวะการทำงานของเรา


2. ต้องทำการระบุว่างานที่ทำมีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร

เริ่มด้วยการทำงานเพียงหนึ่งงาน ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี
แต่จะให้ดีกว่านั้น งานนั้นๆ จะต้องเป็นการที่มีคุณค่า ไม่ใช่เป็นงานที่ไร้คุณค่า
หรือพูดง่ายๆ คือ เลือกทำงานผิดนั่นเอง
ทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

มีรูปตัวอย่าง สำหรับการวัดว่างานที่ทำมีคุณค่าอย่างไร
โดยเปรียบเทียบระหว่าง รายได้ที่เข้ามา กับ พลังงานหรือเวลาที่เราต้องทำไป ดังรูป

Screen Shot 2557-08-08 at 7.06.53 PM

ดังนั้น ถ้างานใดที่คุณคิดว่า มันไม่ได้ส่งผลกระทบให้คุณไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
ก็เอางานนั้นไปไว้ท้ายๆ หรือโยนมันทิ้งไปซะ

3. สรุปงานที่ทำซ้ำๆ ในทุกรอบการทำงาน เช่นในทุกๆ อาทิตย์ ทุกๆ เดือน

เมื่อสรุปแล้ว คุณจะรู้ว่ามีงานอะไรบ้าง และก็สามารถทำมันในช่วงว่างๆ
หรือกำหนดเวลาว่าจะทำงานเหล่านั้น ช่วงไหนได้เลย
เพื่อที่จะทำให้เรา focus ในงานอื่นๆ ได้ดีขึ้น
เนื่องจากงานที่เราทำซ้ำๆ นั้น เราจะรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง และอย่างไร

สุดท้ายแล้ว

ลองทำกันดูครับ ผมก็กำลังปรับปรุงตัวเองอยู่เช่นกัน
เริ่มต้นด้วยการลดจำนวน tab ใน browser ลงก่อนเลย
ด้วยการสรุปลง blog …

ถ้าใครมีวิธีการดีๆ เพื่อเพิ่ม productivity ก็เอามาบอกกันบ้างนะครับ